ต้องทำตัวยังไงเมื่อรู้ว่าเป็น "โรคไตวายเรื้อรัง" (ฟอกไตทีหนึ่งแทบหมดเนื้อหมดตัว)


วิธีดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

"โรคไตวายเรื้อรัง" จัดเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่เดี๋ยวนี้คนไทยเป็นกันเยอะ ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังมักจะเกิดจากการกินอาหารที่มีรสจัดมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่เค็มจัด ใส่เกลือหรือพวกซีอิ๊ว ผงปรุงรส ผงชูรส มากเกินไป ก็เข้าใจนะครับว่าใส่น้อยๆมันไม่อร่อย แต่หารู้ไม่ว่ากินของพวกนี้ไปเยอะๆนานๆเข้า มันจะทำให้ไตของเราทำงานหนัก สุดท้ายไตทนไม่ไหวก็เกิดพังขึ้นมา ก็ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



โรคไตวายเรื้อรังคืออะไรกันแน่?


    ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยสำหรับโรคไตวายเรื้อรังกัน มาดูคำจำกัดความของโรคไตวายเรื้อรังกันก่อน ว่ามันเป็นยังไงถึงเรียกว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

    โรคไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้ไตของเราค่อยๆฝ่อเล็กลง แม้อาหารจะดูเหมือนสงบไม่มีอะไร แต่ไตของเราก็จะค่อยๆเสื่อมไปเรื่อย จนสุดท้ายก็จะเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด แต่ข่าวดีก็คือโรคไตวายเรื้อรังแบบชั่วคราวนั้นสามารถรักษาให้ไตกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ แต่ถ้าเกิดเป็นโรคไตวายเรื้อรังที่เกิดแบบเฉียบพลันก็ต้องทำใจยอมรับกันไป เพราะไตของเราจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมอีกต่อไป

โรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดไตวายเรื้อรัง

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคนิ่วในไต
  • โรคไตอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ
  • โรคเก๊าส์
  • โรคไตจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
  • โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธ์
  • โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ เช่น โรคเอสแอลอี

    ผู้ที่มีภาวะโรคดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดโรคไตวายเรื้อรังได้สูงในอนาคต ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

ใครกันบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้สูง

  • คนที่มีความดันโลหิตสูง
  • คนที่เป็นโรคเบาหวาน
  • คนที่เป็นโรคไตอักเสบชนิดต่างๆ หรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
  • คนที่ชอบใช้ยากแก้ปวดกระดูก ยาแก้ยอก ยาชุด ยาหม้อ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • คนที่เป็นโรคเก๊าท์
  • คนที่เป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
  • คนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต
  • คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป


อาการที่แสดงออกเพื่อบอกเราว่าเราเป็นโรคไตแล้วนะ

  • บวม บวมที่ขา บวมที่แขน บวมที่เข่า
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ น้ำล้างเนื้อ แสบขัด
  • การถ่ายมีปริมาณน้อย ปัสสาวะไม่ค่อยออก หรือออกกระปิดกระปอย
  • ตัวซีด หน้าซีด มีอาการอ่อนเพลีย

วิธีป้องกันโรคไตวายเรื้อรังเบื้องต้น

  • เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง รวมถึงการตรวจปัสสาวะและการตรวจเลือด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารพิษต่างๆติดต่อการเป็นเวลานาน ไตจะเสื่อมสมรรถภาพจนทำให้เป็นโรคไตวายเรื้อรังได้ เช่น ยาลดไข้หรือยาแก้ปวดข้อ , ยาแก้ปวดกระดูก , ยาแก้ยอก , ยาชุด , ยาหม้อ , ยาปฏิชีวนะ , เฮโรอีน , ยากันชัก
  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือการสวนปัสสาวะเพราะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและเกิดอาการอักเสบได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

ทำตัวยังไงเมื่อรู้ว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

  • ไปพบแพทย์สม่ำเสมอ
  • ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 และควบคุมระดับน้ำตาลให้น้อยกว่า 7%
  • ควบคุมการทานอาหารรสเค็ม และจำกัดอาหารจำพวกโปรตีน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด ยาหม้อ และยาชุด โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
  • เลิกสูบบุหรี่ และงดการดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


    ถึงแม้โรคไตวายเรื้อรังจะเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง แต่จริงๆแล้วเราก็สามารถป้องกันและรักษาโรคไตวายเรื้อรังให้หายได้ ขอเพียงแต่ต้องรีบเข้าไปปรึกษาแพทย์ เข้ารับการรักษา พยายามลดความดันโลหิตให้ต่ำลง (130/80) และควบคุมอาหารการกินไม่ให้เค็มจนเกินไป หากทำสิ่งเหล่านี้ได้ โรคไตวายเรื้อรังก็ไม่น่ากลัวอีกต่อไป หมั่นตรวจสอบดูแลสุขภาพของตัวเราเองและของคนที่เรารักให้ดีๆ ไม่งั้นเงินทองที่พยายามหากันมาคงจะไม่มีประโยชน์หากต้องเอามาใช้รักษาตัวเอง เพราะทำงานหนักมากไปจนลืมดูแลสุขภาพของตัวเราเอง ผมคิดว่าคงไม่มีใครอยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นแน่

Share on Google Plus

About Untitle

บล็อกบทความสุขภาพ และความสวยความงาม สูตรหน้าใส รักษาสิว อาหารลดน้ำหนัก สูตรผิวขาว อาหารเสริม ขายเห็ดถั่งเช่าสีทอง 100% เชียงใหม่ฟาร์ม

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น